แมวไม่อยู่ หนูร่างเริง...ครูไม่อยู่ นักเรียนก็ร่าเริง 555 เมื่อวานครูไม่สบาย สรุปแล้วได้เรียนแค่ 2 วิชา ชิวๆ 11โมงกว่าๆก็เลิกละ~ STK ที่นี่ เรียนวันละ 3 คาบเอง มีเวลาเหลือเที่ยวสบายเลย (แอบเห็นตารางเรียนของเพื่อนที่ไทย เรียนอะไรกันทั้งวันทั้งคืน อิจฉากันมั้ย 55) แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ หลังจากหาข้อมูลมานานแสนนาน ไฮไลท์สำคัญเมื่อเราอยู่ประเทศไทย คือการสมัครนั่นเอง!!
เราสมัครไป 3 ที่ อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วจากบทก่อนหน้า นั่นคือ Uni Göttingen, TU Dresden และ KIT วันนี้จะมาเจาะลึกเอกสารการสมัครกัน
1. KIT >> STK KIT
เอกสารที่ต้องใช้ : ใบสมัคร, Transcript, ใบจบม.6, ใบภาษา B1, CV
มาเริ่มกันที่เบสิค ง่ายมากๆ เพียงแค่กรอกรายละเอียดในเว็บนี้ https://movein-uni-karlsruhe.moveonnet.eu/movein/portal/studyportal.php แล้วปริ้นท์ใบสมัครออกมา แปะรูปถ่าย เซ็นชื่อ เตรียมเอกสารอื่นๆ แล้ววางพักไว้
2. Uni Göttingen >> STK Hannover
เอกสารที่ต้องใช้ : ใบสมัคร, Transcript, ใบจบม.6, ใบภาษา B1, (ค่าสมัคร 40 ยูโร)
ใบสมัคร กรอกออนไลน์ได้ที่ www.uni-goettingen.de/en/512011.html ปริ้นท์ใบสมัครออกมา เซ็นชื่อ ทีนี้ค่าสมัคร จ่ายได้ 2แบบ คือโอนเงิน(ซึ่งมีค่าธรรมเนียมธนาคารแน่นอน) กับ หักบัตรเครดิต โดยถ้าหักบัตรเครดิต ต้องปริ้นท์ใบยินยอม? ใบแจ้งความจำนง? (ไม่รู้เรียกอะไร ข้ามมันไป 55) แล้วก็อย่าลืมแนบพร้อมเอกสารอื่นไปด้วย เสร็จแล้วก็วางพักไว้เหมือนเดิม
บล็อกแชร์ประสบการณ์ กว่าจะได้เรียนป.ตรี ที่เยอรมนี ... YOUR GUIDELINE, MY EXPERIENCE
Recommended
RECOMMENDED
- คลิป เรียนเยอรมนี ... ประเทศนี้ต้องสตรองงงงงง (part 1) โดย EINS by DAO
- คลิป เรียนเยอรมนี ... ประเทศนี้ต้องสตรองงงงงง (part 2) โดย EINS by DAO
- คลิป เรียนเยอรมนี ... ประเทศนี้ต้องสตรองงงงงง (part 1) โดย EINS by DAO
- คลิป เรียนเยอรมนี ... ประเทศนี้ต้องสตรองงงงงง (part 2) โดย EINS by DAO
22.10.16
15.10.16
Schritt 3: Studienkolleg สมัครที่ไหนดี?
เอาหละ มาถึงภาค 2 ของ STK กันละนะ หลังจากที่ได้รู้กันแล้ว ว่า STK มีกี่ประเภท ยังไงบ้าง ก็ต้องรู้ตัวเองด้วยนะ ว่าอยากจะเรียนอะไรในอนาคต เพราะการเรียนที่ STK จะแบ่งสายอย่างคร่าวๆ และวิชาเรียนก็จะต่างกันออกไปด้วย ได้แก่
T Kurs สำหรับสายเทคนิค หรือ วิทยาศาสตร์กายภาพ
M Kurs สำหรับสายการแพทย์ หรือ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
G Kurs สำหรับสายภาษา หรือ มนุษย์ศาสตร์
W Kurs สำหรับสายบริหาร หรือ สังคมศาสตร์
(ไม่เหมือนที่ไทยเนอะ จบสายวิทย์เรียนต่อได้ทุกอย่าง ซึ่งเราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่แย่มาก แถมยังมีพวกจบสายศิลป์ แต่สอบหมอได้ เพราะอ่านหนังสือเอง อย่างงี้เด็กไทยถึงยังไม่มีประสิทธิภาพไง เราผลิตนักเรียนแบบจับฉ่าย ให้เราเรียนไปทุกอย่างก่อน แทนที่จะได้โฟกัสสิ่งที่สำคัญ อย่างเช่น วิชากพอ. งานบ้าน งานประดิษฐ์ ศิลปะ เรียนไปทำไมตอนม.ปลาย? ถ้าเราอยู่สายอาชีพ ค่อยเข้าใจหน่อย แล้วก็บ่นกันว่า ทำไมเวลาเรียนเยอะเหลือเกิน!... เน้นว่านี่เป็นความคิดส่วนตัว คิดเห็นยังไงก็มาแชร์ หรือคอมเมนต์กันได้นะ อยากฟังๆ)
ต่อไป ก็ได้เวลาเลือกแล้วหละ ว่าเราอยากเรียนที่ไหน คนที่รู้ตัวเอง เพราะมีญาติอยู่ใกล้ๆ หรือต้องการเมืองท้อปฮิตที่มีสีสันอย่าง Berlin ก็คงง่ายหน่อย แต่ทว่า(ปัญหามาอีกแล้ว 55) บางเมือง ถึงโชคดีที่มีSTK แต่ก็ไม่ได้มีสอนทุกคอร์สเสมอไปนะจ้ะ สำหรับเรา ที่ไม่เกี่ยงเรื่องเมือง และอยากเรียนต่อ Mathematik ก็ต้องมาเรียน T Kurs
ซึ่งโชคดีตรงที่ว่า มันเป็นเหมือนวิชาโหลๆอะ มีสอนทุกที่เลย 55 สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าที่ไหน มีสอนอะไรบ้าง ก็ขอแนะนำให้ดู List ของSTK ทั้งหมดที่เว็บนี้ www.studienkollegs.de นะ!
ทีนี้ เหมือนจะโชคดีที่เลือกได้ทุกที่ แต่ปัญหาก็ตามมาอีกว่า จะสมัครที่ไหนหละ?? ตัวเลือกมีเยอะเกิน จะสมัครทุกที่ก็กระไรอยู่ เลยต้องหาวิธีมาตัดช้อยส์ของเราให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นทำเล ตัวเมือง ตัวมหาลัยเอง STK บลาๆๆ เราก็ต้องมาเปิดหารายละเอียดของทุกที่ เหนื่อยโคตรรร ใช้เวลาอยู่หลายวัน ก็บอกได้เลยว่า ไม่เป็นผลสำเร็จ (รู้สึกเสียเวลามาก ตอนนั้น) บางที่ก็แอบข้อมูลอย่างกะไม่อยากให้ใครมาสมัครอะ จนในที่สุด เราได้เจอเว็บหนึ่ง "มันดีมว้าก" ไม่มีภาษาอังกฤษนะ แต่อยากจะให้ทุกคนเห็น เพราะรายละเอียดครบจริง แทบไม่ต้องหาจากเว็บอื่นเพิ่มเลย แต่!(หักมุมเยอะจริงนะ 555) เว็บมันล่มไปแล้ว T.T ยังไงก็แปะลิงค์ไว้ก่อนละกัน www.deutsche-studienkollegs.com/studienkollegs
T Kurs สำหรับสายเทคนิค หรือ วิทยาศาสตร์กายภาพ
M Kurs สำหรับสายการแพทย์ หรือ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
G Kurs สำหรับสายภาษา หรือ มนุษย์ศาสตร์
W Kurs สำหรับสายบริหาร หรือ สังคมศาสตร์
(ไม่เหมือนที่ไทยเนอะ จบสายวิทย์เรียนต่อได้ทุกอย่าง ซึ่งเราคิดว่ามันเป็นสิ่งที่แย่มาก แถมยังมีพวกจบสายศิลป์ แต่สอบหมอได้ เพราะอ่านหนังสือเอง อย่างงี้เด็กไทยถึงยังไม่มีประสิทธิภาพไง เราผลิตนักเรียนแบบจับฉ่าย ให้เราเรียนไปทุกอย่างก่อน แทนที่จะได้โฟกัสสิ่งที่สำคัญ อย่างเช่น วิชากพอ. งานบ้าน งานประดิษฐ์ ศิลปะ เรียนไปทำไมตอนม.ปลาย? ถ้าเราอยู่สายอาชีพ ค่อยเข้าใจหน่อย แล้วก็บ่นกันว่า ทำไมเวลาเรียนเยอะเหลือเกิน!... เน้นว่านี่เป็นความคิดส่วนตัว คิดเห็นยังไงก็มาแชร์ หรือคอมเมนต์กันได้นะ อยากฟังๆ)
ต่อไป ก็ได้เวลาเลือกแล้วหละ ว่าเราอยากเรียนที่ไหน คนที่รู้ตัวเอง เพราะมีญาติอยู่ใกล้ๆ หรือต้องการเมืองท้อปฮิตที่มีสีสันอย่าง Berlin ก็คงง่ายหน่อย แต่ทว่า(ปัญหามาอีกแล้ว 55) บางเมือง ถึงโชคดีที่มีSTK แต่ก็ไม่ได้มีสอนทุกคอร์สเสมอไปนะจ้ะ สำหรับเรา ที่ไม่เกี่ยงเรื่องเมือง และอยากเรียนต่อ Mathematik ก็ต้องมาเรียน T Kurs
ซึ่งโชคดีตรงที่ว่า มันเป็นเหมือนวิชาโหลๆอะ มีสอนทุกที่เลย 55 สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าที่ไหน มีสอนอะไรบ้าง ก็ขอแนะนำให้ดู List ของSTK ทั้งหมดที่เว็บนี้ www.studienkollegs.de นะ!
ทีนี้ เหมือนจะโชคดีที่เลือกได้ทุกที่ แต่ปัญหาก็ตามมาอีกว่า จะสมัครที่ไหนหละ?? ตัวเลือกมีเยอะเกิน จะสมัครทุกที่ก็กระไรอยู่ เลยต้องหาวิธีมาตัดช้อยส์ของเราให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นทำเล ตัวเมือง ตัวมหาลัยเอง STK บลาๆๆ เราก็ต้องมาเปิดหารายละเอียดของทุกที่ เหนื่อยโคตรรร ใช้เวลาอยู่หลายวัน ก็บอกได้เลยว่า ไม่เป็นผลสำเร็จ (รู้สึกเสียเวลามาก ตอนนั้น) บางที่ก็แอบข้อมูลอย่างกะไม่อยากให้ใครมาสมัครอะ จนในที่สุด เราได้เจอเว็บหนึ่ง "มันดีมว้าก" ไม่มีภาษาอังกฤษนะ แต่อยากจะให้ทุกคนเห็น เพราะรายละเอียดครบจริง แทบไม่ต้องหาจากเว็บอื่นเพิ่มเลย แต่!(หักมุมเยอะจริงนะ 555) เว็บมันล่มไปแล้ว T.T ยังไงก็แปะลิงค์ไว้ก่อนละกัน www.deutsche-studienkollegs.com/studienkollegs
7.10.16
Schritt 2: จะเริ่มต้น ก็งงแล้ว...
สวัสดีอีกครั้งนะครับ :)
วันนี้เพิ่งเปิดเรียนวันที่ 2 ยังไม่ได้เริ่มอะไรมาก เลยมีเวลามาเขียนบทต่อไป ตัวเราเองอยากจะค่อยๆเขียนนะ เพราะว่า กลัวเดี๋ยวเขียนจบแล้ว บล็อกมันจะร้างอะสิ! ใครที่อาจกำลังหาข้อมูล หรืออยากรู้อะไรล่วงหน้า แนะนำให้ไปอ่านบล็อก หรือลิงค์ที่แปะไว้ให้ด้านข้างก่อน หรือจะถามมาโดยตรงก็ได้ ยินดีช่วยแน่นอน (ถ้าตัวเองรู้อะนะ 555)
โอเค เกริ่นพอละ มาต่อกันเถอะ... สมมติว่าใครมีความคิดที่ว่า จะเรียนต่อเยอรมันแน่นอน อันดับแรกที่ต้องทำ โดยไม่ต้องถามใครเลยคือ เรียนภาษาใช่ม้าาาา สำหรับใครที่ยังลังเล แนะนำให้ไปหาข้อมูลจากลิงค์ที่แปะให้ดู เพราะจุดประสงค์ของบล็อกนี้คือ เล่าประสบการณ์เนอะ (ประเด็นคือ อธิบายไม่ค่อยเป็นว่าทำไมถึงอยากให้มา 555) ระหว่างนี้ เราก็ควรจะเริ่มเตรียมเอกสาร แล้วก็ดูเมือง ดูมหาลัยว่าอยากจะเรียนที่ไหนไว้ด้วยนะ
ซึ่งบางคนอาจมีเป้าหมายไว้อยู่แล้ว นับเป็นความพยายามที่ดีมาก แต่ก็ต้องหยุดความฝันนั้นไว้ก่อน! เพราะสำหรับนักเรียนไทย (หรือชาติไหนก็ได้ ที่ไม่ได้จบ Abitur หรือหลักสูตรที่เยอรมันยอมรับ) เค้าจะไม่รับเราเค้าเรียนมหาวิทยาลัยแน่นอน เว้นแต่ว่า
1. ต้องเรียนมหาลัยในสาขานั้นๆมาแล้ว 2 ปี จึงสามารถมาเข้าเรียนปี 1 ใหม่ (โดยไม่สามารถโอนเกรดจากไทยได้)
2. ต้องมีใบประกาศ Feststellungsprüfung (FP) จะแปลก็คือ assessment test ที่จะนำเกรดที่ได้ ใช้ยื่นมหาลัยต่อไป
คำถามต่อมาคือ แล้วจะได้ใบประกาศนั้นได้อย่างไรหละ...
1. ขอสอบได้โดยตรงทันที ผ่านทาง Studienkolleg (ซึ่งไม่แนะนำเลย)
2. เรียน Studienkolleg ก่อน 1 ปี เพื่อสอบFP ตอนจบ (แนะนำมากๆๆๆๆ)
วันนี้เพิ่งเปิดเรียนวันที่ 2 ยังไม่ได้เริ่มอะไรมาก เลยมีเวลามาเขียนบทต่อไป ตัวเราเองอยากจะค่อยๆเขียนนะ เพราะว่า กลัวเดี๋ยวเขียนจบแล้ว บล็อกมันจะร้างอะสิ! ใครที่อาจกำลังหาข้อมูล หรืออยากรู้อะไรล่วงหน้า แนะนำให้ไปอ่านบล็อก หรือลิงค์ที่แปะไว้ให้ด้านข้างก่อน หรือจะถามมาโดยตรงก็ได้ ยินดีช่วยแน่นอน (ถ้าตัวเองรู้อะนะ 555)
โอเค เกริ่นพอละ มาต่อกันเถอะ... สมมติว่าใครมีความคิดที่ว่า จะเรียนต่อเยอรมันแน่นอน อันดับแรกที่ต้องทำ โดยไม่ต้องถามใครเลยคือ เรียนภาษาใช่ม้าาาา สำหรับใครที่ยังลังเล แนะนำให้ไปหาข้อมูลจากลิงค์ที่แปะให้ดู เพราะจุดประสงค์ของบล็อกนี้คือ เล่าประสบการณ์เนอะ (ประเด็นคือ อธิบายไม่ค่อยเป็นว่าทำไมถึงอยากให้มา 555) ระหว่างนี้ เราก็ควรจะเริ่มเตรียมเอกสาร แล้วก็ดูเมือง ดูมหาลัยว่าอยากจะเรียนที่ไหนไว้ด้วยนะ
ซึ่งบางคนอาจมีเป้าหมายไว้อยู่แล้ว นับเป็นความพยายามที่ดีมาก แต่ก็ต้องหยุดความฝันนั้นไว้ก่อน! เพราะสำหรับนักเรียนไทย (หรือชาติไหนก็ได้ ที่ไม่ได้จบ Abitur หรือหลักสูตรที่เยอรมันยอมรับ) เค้าจะไม่รับเราเค้าเรียนมหาวิทยาลัยแน่นอน เว้นแต่ว่า
1. ต้องเรียนมหาลัยในสาขานั้นๆมาแล้ว 2 ปี จึงสามารถมาเข้าเรียนปี 1 ใหม่ (โดยไม่สามารถโอนเกรดจากไทยได้)
2. ต้องมีใบประกาศ Feststellungsprüfung (FP) จะแปลก็คือ assessment test ที่จะนำเกรดที่ได้ ใช้ยื่นมหาลัยต่อไป
คำถามต่อมาคือ แล้วจะได้ใบประกาศนั้นได้อย่างไรหละ...
1. ขอสอบได้โดยตรงทันที ผ่านทาง Studienkolleg (ซึ่งไม่แนะนำเลย)
2. เรียน Studienkolleg ก่อน 1 ปี เพื่อสอบFP ตอนจบ (แนะนำมากๆๆๆๆ)
2.10.16
Schritt 1: มาเรียนภาษาเยอรมันกันเถอะ!
หลังจากที่ได้แนะนำตัวกันไปแล้ว (ใครยังไม่รู้จัก คลิกนี่นะ >>> Schritt 0: จุดเริ่มต้น)
จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้ ว่าจะเขียนแนวไหนดี แบบประสบการณ์ตัวเอง หรือเขียนเป็นแบบให้แนะนำ how-to... เอาเป็นว่า แล้วแต่อารมณ์คนเขียนละกัน (~.~)"
ตอนแรกที่อยู่ม.4 คิดว่าเรียนเยอรมัน ได้รู้เพิ่มอีกภาษาก็เท่ดี (มีพ่อเลี้ยงเป็นคนเยอรมันด้วย แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นหลักหรอก เพราะเค้าก็ไม่ได้บังคับให้เราเรียนอยู่ดี) กับสถาบันสุดฮอต Goethe Institut นั่นเอง!! ตอนเรียนเล่มแรกนี่แบบ ง่ายโคตร แฮปปี้ รู้สึกว่าทำไมเก่งอย่างงี้ พอเจอเล่ม 2 เท่านั้นแหละครับพี่น้อง จำได้ว่า "die Schule" ทำไมมันกลายเป็น "an der Schule" คือนอกจากต้องท่องเพศแล้ว มันเปลี่ยนเพศได้ด้วยหรอ (ถ้าอยากรู้เหตุผล ทักมา ค่าสอนถูกๆ... แอบขายของหน่อย 55) แล้วคำศัพท์เริ่มจำไม่ไหว ท้อแท้มาก แต่ด้วยกำลังใจ และความอยากเท่ ;) เลยฮึดเรียนต่อมาเรื่อยๆ ยากบ้าง ง่ายบ้าง แล้วก็ต้องเริ่มกลับมาทวน
>> อยากให้กำลังใจคนที่มาเรียนภาษาทุกคนนะ มันต้องใช้เวลาแหละ เรียนไปเรื่อยๆ อย่าท้อ ส่วนตัวแล้วของใหม่เพิ่งเรียน ก็ต้องมีงงเป็นธรรมดา แต่ยิ่งเรียนมันจะช่วยทำให้เราเข้าใจของเก่าๆมากขึ้น เพราะเราได้เจอมันบ่อยขึ้นนั่นเอง ไม่มีใครเก่งได้เพราะเรียนแค่ในห้องหรอก <<
มาพูดถึงการสอบระดับ B1 ให้ฟังหน่อย (Goethe Zertifikat B1)
สอบ 4 part ด้วยกัน ฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ไฮไลต์ คือ สอบแยกพาร์ทได้ นั่นหมายถึง ถ้าตก ก็สอบซ่อมเฉพาะ part ได้นั่นเอง ไม่ต้องเสียตังค์ใหม่หมด แต่อยากจะโม้ว่า เราสอบครั้งเดียวผ่านหมด 55 ถ้าตั้งใจไม่ยากแน่นอน
จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้ ว่าจะเขียนแนวไหนดี แบบประสบการณ์ตัวเอง หรือเขียนเป็นแบบให้แนะนำ how-to... เอาเป็นว่า แล้วแต่อารมณ์คนเขียนละกัน (~.~)"
ตอนแรกที่อยู่ม.4 คิดว่าเรียนเยอรมัน ได้รู้เพิ่มอีกภาษาก็เท่ดี (มีพ่อเลี้ยงเป็นคนเยอรมันด้วย แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นหลักหรอก เพราะเค้าก็ไม่ได้บังคับให้เราเรียนอยู่ดี) กับสถาบันสุดฮอต Goethe Institut นั่นเอง!! ตอนเรียนเล่มแรกนี่แบบ ง่ายโคตร แฮปปี้ รู้สึกว่าทำไมเก่งอย่างงี้ พอเจอเล่ม 2 เท่านั้นแหละครับพี่น้อง จำได้ว่า "die Schule" ทำไมมันกลายเป็น "an der Schule" คือนอกจากต้องท่องเพศแล้ว มันเปลี่ยนเพศได้ด้วยหรอ (ถ้าอยากรู้เหตุผล ทักมา ค่าสอนถูกๆ... แอบขายของหน่อย 55) แล้วคำศัพท์เริ่มจำไม่ไหว ท้อแท้มาก แต่ด้วยกำลังใจ และความอยากเท่ ;) เลยฮึดเรียนต่อมาเรื่อยๆ ยากบ้าง ง่ายบ้าง แล้วก็ต้องเริ่มกลับมาทวน
เรียนไปเรียนมา อยู่ดีๆก็รู้สึกว่า เรียนมาขนาดนี้ละ ไปเยอรมันต่อดีกว่า พร้อมกับอารมณ์ที่ว่า มหาลัยประเทศไทยไม่ใช่สไตล์เรา ทำไมต้องรับน้อง? กิจกรรมอะไรเยอะแยะ? ทำไมต้องบังคับให้นั่งดูคนอื่นเต้น? นั่งทำสแตนด์เชียร์กีฬาสีให้เว่อร์วังอลังการ ได้อะไร? (ก็เรามันไม่ใช่เด็กกิจกรรมนี่หว่า 55) เลยต้องมาเริ่มฟิตภาษา สละสิทธิ์มหาลัยที่ไทย เอาให้ตายไปข้าง แบบว่าถ้าไม่ติดที่เยอรมันนะ ก็ไม่มีที่เรียนกันไปเลย (โหดไปมั้ยอะ!) แต่ด้วยความพยายาม และจนถึงตอนนี้จะยังใช้ภาษาผิดๆ ถูกๆ ก็ยังสามารถสอบผ่าน B1 มาได้สำเร็จ
>> อยากให้กำลังใจคนที่มาเรียนภาษาทุกคนนะ มันต้องใช้เวลาแหละ เรียนไปเรื่อยๆ อย่าท้อ ส่วนตัวแล้วของใหม่เพิ่งเรียน ก็ต้องมีงงเป็นธรรมดา แต่ยิ่งเรียนมันจะช่วยทำให้เราเข้าใจของเก่าๆมากขึ้น เพราะเราได้เจอมันบ่อยขึ้นนั่นเอง ไม่มีใครเก่งได้เพราะเรียนแค่ในห้องหรอก <<
มาพูดถึงการสอบระดับ B1 ให้ฟังหน่อย (Goethe Zertifikat B1)
สอบ 4 part ด้วยกัน ฟัง พูด อ่าน เขียน แต่ไฮไลต์ คือ สอบแยกพาร์ทได้ นั่นหมายถึง ถ้าตก ก็สอบซ่อมเฉพาะ part ได้นั่นเอง ไม่ต้องเสียตังค์ใหม่หมด แต่อยากจะโม้ว่า เราสอบครั้งเดียวผ่านหมด 55 ถ้าตั้งใจไม่ยากแน่นอน
Subscribe to:
Posts (Atom)